วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
เมื่อวันพุธที่ 26 อาจารย์ได้สอนเรื่อง การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ ภาษาคือการสื่อาร ภาษาธรรมชาติ(Whole Language Approach) การสอนภาษาโดยองค์รวม โคมินิอุส ได้ให้ความหมายไว้ว่า เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอบู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก กู๊แมน สมิธ เมอร์ริดิธ ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้มีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ครูใช้ภาษาทุกทักษะ ด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน / การอ่านคือการรับข้อมูล/ จูดิท ฮิวแมน กล่าวว่า การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา(Philosophical stance) / นักทฤษฎี...เรื่องภาษาธรรมชาติ จอห์น ดิวอี้ การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง / ทฤษฎีเป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิด ต่อการสอนของครู (Refleetive teaching)ผู้เรียนจะต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนักทฤษฎีต่อไปนี้1.เพียเจท์ เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้ารการเคลื่อนไหว และมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้นั้น ภายในตนเองโดยเด็กเป็นผู้กระทำ 2.ไวกอตสกี้ การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้จากการมีปฎิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่นพ่อแม่ เพื่อน ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการเล่นและกิจกรรมนำไปสู่การใช้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์ 3.ฮอลลิเดย์ บริบทที่แวดล้อมในสถาณการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้อง ในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษา 4.กู๊ดแมน ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา เมื่อาจารย์สอนเรื่องทฤษฎีจบ อาจารย์ก็ได้ให้ทุกคนเลือกของหนึ่งอย่างที่ตนรักและหวงมากที่สุด และให้บอกเหตุผลว่าทำใม เพราะอะไรถึงได้รักและหวงของสิ่งนี้ เหตุผลทที่อาจารย์ได้ให้ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าเด็กจะเรียนรู้สิ่งใกล้ตัว สิ่งรอบๆตัว อาจารย์อยากให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นนั่นเอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น